Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2566

เมื่อดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสไอเดียแจ๋ว ออกแบบแจ็คเก็ตสาหร่าย คุณสมบัติคล้ายหนังสัตว์ ย่อยสลายได้


เมื่อดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสไอเดียแจ๋ว ออกแบบแจ็คเก็ตสาหร่าย คุณสมบัติคล้ายหนังสัตว์ ย่อยสลายได้

ตะลึงวงการแฟชั่นเมื่อดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศสมีความคิดไอเดียทันสมัยและอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาสิ่งแวดล้อมออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นแบบใหม่ ที่ใช้วัสดุเป็น ‘สาหร่าย’ ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านเกิดของเขาเอง ซึ่งมีชายหาดที่ชื่อว่า Sainte-Marguerite เป็นสถานที่ที่มีสาหร่ายทะเลจำนวนมาก เอามาดีไซน์เป็นชุดแฟชั่นแบบใหม่
แต่มันคงทำได้เป็นเฉพาะบางที่นะครับ


สำหรับประเทศไทยคงจะต้องมาลองทดลองกันหลายขั้นตอนเพราะว่าสาหร่ายในประเทศไทยอาจจะมีสารเคมีผสมอยู่เอามาทำเสื้อใส่พอใส่ไปจะคันคะเยอก็ได้นะครับล้อเล่น

เมื่อวงการแฟชั่นก็คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ดีไซเนอร์ชาวฝรั่งเศส ‘Tanguy Mélinand’ (ตองกี เมลีนอง) วัยเพียง 23 ปี ได้ออกแบบเสื้อผ้าแฟชั่นแบบใหม่ ที่ใช้วัสดุเป็น ‘สาหร่าย’ ที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ โดยได้รับแรงบันดาลใจจากบ้านเกิดของเขาเอง ซึ่งมีชายหาดที่ชื่อว่า Sainte-Marguerite เป็นสถานที่ที่มีสาหร่ายทะเลจำนวนมาก ตั้งอยู่ในเมือง Landéda ประเทศฝรั่งเศส 

เขาใช้สาหร่ายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น เคลป์ รอยัลคอมบุ (laminaria saccharina) และ Laminaria digitata นำมาพัฒนาด้วยเทคนิคที่ทำให้สาหร่ายอ่อนตัว และตากให้แห้ง โดยใช้ส่วนผสมและกรรมาวิธีธรรมชาติ เพื่อให้ได้ผิวสัมผัสที่ไม่ต่างจากหนังสัตว์ น่าเสียดายที่เราไม่อาจรู้ขั้นตอนแบบละเอียด เพราะเขาได้จดสิทธิบัตรไปแล้ว


เมื่อเสร็จแล้ว ขั้นต่อไป เขานำสาหร่ายไปตัดเย็บเป็น เสื้อแจ็กเก็ต ที่รูปลักษณ์คล้าย ‘แจ็กเก็ตยีนส์’ ดูทะมัดทะแมง สไตล์ชุดทำงาน นอกจากนี้ ยังมี กางเกงและกระโปรง ที่เย็บด้วยด้ายจากผ้าฝ้ายที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ

เมื่อเสื้อตัวนี้ผ่านการใช้งานบ้าง ก็อาจจะมีกลิ่นไม่พึงประสงค์บ้าง แต่ทาง Tanguy บอกว่าสามารถแก้ได้ด้วยการใส่ไอโอดีนลงในแจ็กเก็ตจะช่วยให้กลิ่นเบาบางลงได้ และเสริมว่า “มันก็เหมือนตอนใส่ชุดจากหนังสัตว์นั่นแหละ มันก็จะมีกลิ่นจากหนัง ใช่มั้ยล่ะ?”

การใช้สาหร่ายเป็นวัสดุ ถือว่าทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าเสื้อผ้าทั่วไปมาก เพราะว่าการปลูกสาหร่ายไม่ต้องใช้น้ำจืด ปุ๋ย หรือยาฆ่าแมลง แถมมีปริมาณคาร์บอนฟุตพรินต์ (หรือในภาษาไทยใช้ชื่อเรียกว่ารอยเท้าคาร์บอน เป็นการวัดผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อม โดยวัดเป็นของปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมา) ที่ต่ำกว่ามากเมื่อเทียบกับการผลิตสิ่งทอแบบเดิม ๆ นอกจากนี้ การเพาะเลี้ยงสาหร่ายยังช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ด้วย


เมื่อเทรนด์ของสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องควบคู่ไปกับธุรกิจต่าง ๆ สาหร่ายจึงเป็นหนึ่งทางเลือกของสิ่งทอ ที่สามารถลดมลพิษและสร้างความยั่งยืนให้แก่อุตสาหกรรมแฟชั่นได้

รายการบล็อกของฉัน