Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

ต้นกระทิง (Krathing)


กระทิง (Krathing)
Calophyllum inophyllum L.
วงศ์ : CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
ชื่อสามัญ Alexandrian laurel
ชื่ออื่น : กระทึง กากะทิง กากระทึง (ภาคกลาง) สารภีแนน (ภาคเหนือ) เนาวนาน (น่าน) ทิง (กระบี่) สารภีทะเล (ประจวบคีรีขันธ์)
"ดอกกระทิงยิ่งล้ำ     หอมยวน 

 เสน่ห์รื่นเร้าอวล     กลิ่นฟ้อง 
ทยอยเบ่งบานชวน     เฝ้าแอบ  แนบเฮย 
รังไข่กระจิบจ้อง     ยั่วเย้าผสมพันธุ์"


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์  
กระทิงเป็นไม้ต้น สูงได้ถึง 20 ม. แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม เปลือกต้นเรียบสีน้ำตาลเข้ม
มียางสีเหลืองอมเขียว 
*ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามกัน รูปรียาว กว้าง 5-8 ซม. ยาว 10-20 ซม. ปลายใบมนหรือเว้าตื้น ๆ  โคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบหนาเรียบเกลี้ยง สีเขียวเข้มเป็นมัน ด้านล่างสีอ่อนกว่า
ก้านใบยาว 1-2 ซม.  
*ดอก ออกเป็นช่อสั้นตามซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีขาวมี 4 กลีบ กลีบดอกสีขาวมี 4 กลีบ ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 ซม. เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก   
*ผล รูปทรงค่อนข้างกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.5 ซม. เปลือกหนา ผลอ่อนสีเขียว พอสุกเป็นสีเหลือง เมล็ดเดี่ยว
"...เส้นทางใบเป็นเส้น ๆ  คล้ายใบตอง ใบคล้ายใบสารภี แต่ใบมัน..."

สรรพคุณ
      *ดอก มีรสหอมเย็น เป็นยาบำรุงหัวใจ
      *เมล็ด มีรสเมาร้อน หุงเป็นน้ำมัน ทาแก้ปวดข้อ เคล็ดขัดยอก บวม
      *ใบ มีรสเมาเย็น แก้ตาแดง ตาฝ้า ตามัว

สรรพคุณของกระทิง
ใช้ทั้งต้น มีรสเมาและฝาดเล็กน้อย ใช้เป็นยาสุขุม มีพิษเล็กน้อย (ทั้งต้น)
ดอกมีรสหอมเย็น ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อาการการเต้นของหัวใจผิดปกติ
และใช้ปรุงเป็นยาหอม (ดอก,ดอกและใบ)
ดอกใช้เป็นยาชูกำลัง (ดอก)
ใบมีรสเมาเย็น สรรพคุณช่วยแก้อาการตาแดง ตาฝ้า ตามัว และใช้ล้างตา 
โดยใช้ใบตำกับน้ำสะอาดล้างตา (ใบ)
ยางมีฤทธิ์ทำให้อาเจียน (ยาง)
ยางจากต้นและเปลือกต้นใช้เป็นยาพอกทรวงอกแก้วัณโรคปอด (ยาง)
ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย ยาระบายอย่างรุนแรง (ยาง)ช่วยขับปัสสาวะ (ยาง)
น้ำคั้นจากใบใช้เป็นยาฝาดสมานภายนอกใช้กับโรคริดสีดวงทวาร (ใบ)
น้ำมันจากเมล็ดที่ทำให้บริสุทธิ์ ใช้กินแก้โรคหนองใน (น้ำมันจากเมล็ดบริสุทธิ์)
เปลือกต้นใช้ทำต้มเป็นยาขับปัสสาวะในโรคหนองใน (เปลือกต้น)
ช่วยแก้ประจำเดือนมาไม่เป็นปกติ และช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (ดอกและใบ)
เปลือกต้นใช้ทำเป็นปลาสเตอร์ปิดแผล (เปลือกต้น)
ช่วยรักษาแผลสดห้ามเลือด (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
ต้นกระทิง สรรพคุณเปลือกต้นใช้เป็นยาแก้คัน
(เปลือกต้น)
ยางจากต้นและเปลือกใช้ภายนอกสำหรับล้างแผลอักเสบเรื้อรัง (ยาง)
เปลือกต้นใช้ชำระล้างแผล (เปลือกต้น) รากใช้เป็นยาล้างแผล (ราก)
ต้นและเปลือกต้นให้ยางใช้สำหรับทาแผล เป็นยาสมานแผลและกัดฝ้า (เปลือกต้น,ยาง)
ช่วยแก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้เหา และช่วยสมานแผล (น้ำมันจากเมล็ด)
ช่วยรักษาโรคเรื้อน (เปลือกต้น,น้ำมันจากเมล็ด)
น้ำมันจากเมล็ด ใช้แก้หิดและกลากเกลื้อน
(น้ำมันจากเมล็ด)
รากช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก) เปลือกต้นช่วยแก้อาการฟกช้ำดำเขียว (เปลือกต้น)
เปลือกต้นใช้เป็นยาทาภายนอกแก้อาการบวม
(เปลือกต้น)
รากใช้เป็นยาแก้อาการปวดบวมเคล็ดขัดยอก (ราก) ส่วนเมล็ด (น้ำมัน) รสเมาร้อนและมีน้ำมัน ใช้สำหรับถูนวดแก้อาการปวดข้อ แก้อาการเคล็ดขัดยอก แก้บวมได้ (น้ำมันจากเมล็ด)
ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ปวดตามแข้งตามขา
เนื่องจากลมชื้น (ราก)
ช่วยแก้อาการปวดหลัง อันเนื่องมาจากไตพร่อง
(ราก)
ชวยแก้อาการปวดข้อ ปวดกระดูก (ราก)

*วิธีการใช้ : ใบ เปลือกต้น ราก ถ้าเป็นยาแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม ส่วนรากสดให้ใช้ครั้งละ 20-30 กรัม ถ้าใช้ภายในให้นำมาต้มกับน้ำดื่ม หากใช้ภายนอกเพื่อรักษาแผลสดห้ามเลือด แก้เคล็ดขัดยอก อาการปวดบวม ให้ใช้ตามที่ต้องการ

*ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรกระทิง
ยาจากสมุนไพรกระทิงมีพิษ เวลาใช้ต้องระมัดระวังยางจากต้นกระทิงมีพิษ มีฤทธิ์ทำให้อาเจียนและออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างรุนแรง
ใบกระทิงมีสาร Saponin และสารเมื่อละลายน้ำแล้วจะมีสาร Hydrocyanic acid ออกมา จึงทำให้เป็นพิษต่อมนุษย์และปลาหากนำผลของกระทิงไปสกัดด้วยแอลกอฮอล์ 60% จะทำให้สารที่ได้มาไม่เป็นพิษ
คลิปประกอบบทความ

รายการบล็อกของฉัน